Ureshii

Prefix

การใช้ Prefix

Prefix แปลว่า อุปสรรค ได้แก่ คำที่ใช้เติมหน้าคำอื่น เพื่อให้ความหมายคำนั้นเปลี่ยนไป แต่ไม่เปลี่ยนชนิดของคำนั้น ตัวอย่างเช่น polite เป็นคำคุณศัพท์ เติมอุปสรรค im ลงไปเป็น impolite ก็ยังคงเป็นคำคุณศัพท์อยู่ตามเดิม (แต่ความหมายเปลี่ยนไปตรงกันข้าม) ยกเว้นอุปสรรค en ,em เท่านั้นที่ทำให้คำนั้นกลายเป็นกริยา คือ เปลี่ยนชนิดไป

Prefix แบ่งเป็น 3 ชนิด ตามลักษณะของคำที่ใช้นำหน้าคือ ;
1. ชนิดที่เติมข้างหน้าแล้วทำให้คำนั้นมีความหมายตรงกันข้ามได้แก่ un- , dis-, in-, im-, non-, etc. เป็นต้น
2. ชนิดที่เติ่มข้างหน้าแล้ว ทำให้คำนั้นเป็นกริยาขึ้นทาได้แก่ en-, em-
3. ชนิดที่เตมลงไปข้างหน้าแล้ว มีความหมายแตกต่างกัน ซึ่งผู้ศึกษาต้องจดจำเป็นตัวๆไป ได้แก่ co-, re-,supper-,etc. เป็นต้น

1.1 prefix (อุปสรรค) ที่เติมหน้าคำใด แล้วทำให้คำนั้นมีความหมายตรงกันข้าม หรือ มีความหมายเป็นปฎิเสธ (negative prefit) ได้แก่
un-,dis-,in- (ร่วมทั้ง im-,il-,ir-)
non-,mis-, เป็นต้น
ซึ่งแต่ละตัวใช้เติมหน้าคำได้ดังต่อไปนี้


Un- (ไม่) โดยปกติใช้เติมหน้าคำคุณศัพท์ (Adjective) เช่น ;,



Dis- (ไม่) ใช้เติมข้างหน้ากริยา (Verb) บ้าง , หน้าคำนาม (none) บ้าง, หน้าคุณศัพท์ (adjective) บ้าง เช่น;


In-, (im-, il-, ir ) (ไม่) ใช้เติมข้างหน้าคำคุณศัพท์เท่านั้น แต่จะใช้อุปสรรคตัวไหนเติม มีหลักเกณฑ์ดังนี้ ;
= ใช้ im- เติม เมื่อคุณศัพท์ตัวนั้นขึ้นด้วยพยัญชนะ b, m, p เช่น ;-


= ใช้ il- เติม เมื่อคุณศัพท์ตัวนั้นขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ 1 เช่น ;-




= ใช้ ir เติม เมื่อคุณศัพท์ตัวนั้นขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ r เช่น;



ใช้ in- เติม เมื่อคุณศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะนอกจากที่กล่าวมาแล้ว เช่น ;-




Non- (ไม่) อุปสรรคคำนี้มักจะใช้เป็นคำศัพท์ทางวิชาการ ( technical Word) เสียมากกว่า ใช้เติมหน้าคำนามบ้าง คุณศัพท์บ้าง เช่น ;-


หมายเหตุ ; แต่เดิมอุปสรรค non- เมื่อใช้เติมหน้าคำมักใช้ hyphen มาคั่น เช่น; partisan non-partisan (ถือพรรคพวก-ไม่ถือพรรคพวก) แต่ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมใช้ hyphen มาขั้นแล้ว


Mis(มิส) อุปสรรคตัวนี้ไม่ทำให้ความหมายตรงกันข้ามเหมือนตัวอื่น แต่ใช้ในความหมายว่า “ผิด, ไม่ถูกต้อง” ใช้เติมข้างหน้ากริยาเท่านั้น เช่น;-


2.2 Prefix ที่เติมหน้าคำใดๆ แล้วทำให้คำนั้นๆกลายเป็นกริยาขึ้นมาได้แก่ en หรือ em ซึ่งมีหลักการเติมดังนี้
En (ทำให้เป็นเช่นนั้น,ทำให้กลายเป็น) ใช้เติมข้างหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะทั่วไป เช่น;


3.3 Prefix ที่ใช้เติมข้างหน้าคำอื่น แล้วทำให้คำนั้นมีความหมายแตกต่างกันออกไปเป็นตัวๆได้แก่ prefix ต่อไปนี้ :-

Ante- (แอนทิ) มีความหมายเท่ากับ “ก่อน,แรก,ก่อนถึง” เช่น






Over- (โอเวอร์) มีความหมายเท่ากับ “มากเกินไป” ใช้เติมหน้าคำกริยาเท่านั้น เช่น:-

Suffix

Suffix


Suffix แปลว่า “ปัจจัย” ได้แก่ “คำหรือพยางค์ที่เติมลงไปท้ายคำอื่น แล้วทำให้คำนั้นเปลี่ยนชนิดไป” ยกตัวอย่างเช่น man เป็นคำนาม(noun) แปลว่า ผู้ชาย เมื่อเติม ly ลงไปที่ท้าย man เป็นmanly ก็จะกลายเป็นคำคุณศัพท์ (Adjective)ไป แปลว่า มีลักษณะสมเป็นชาย เพราะฉะนั้นคำที่เติม suffif ลงไปนั้นม่เปลี่ยนความหมาย แต่เปลี่ยนชนิดของคำ

Suffif ในภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น 3 จำพวกตามชนิดของคำที่เปลี่ยนไปอันเป็นผลจากการเติม แล้วคือ:-
1) Noun-Forming Suffixes ได้แก่ “ปัจจัยที่เติมท้ายคำอื่น แล้วทำให้คำนั้นกลับกลายเป็นคำนามขึ้นมา” ได้แก่

-ment -ee,-e -ism,-ist
-tion -an,-n -ty,-ity
-ation -ant -ness
-ition -ent -y,-ery
-ification -er,-or -ing
-sion -est -dom
-al -ess -hood
-ance,-ence -ure -ship

-ment ใช้เติมหลังคำกริยา เพื่อทำกริยาตัวน้นให้เป็นคำนาม และให้ออกเสียง”เมนท์” เบาๆ
ตัวอย่าง:-:-

** Verb noun
Amuse ทำให้สนุกสนาน amusement ความสนุกสนาน
Achieve สัมฤทธิ์ผล achievement ความสัมฤทธิ์ผล
Govern ปกป้อง government การปกครอง
Argue โต้แย้ง argument การโต้แย้ง
Agree เห็นด้วย agreement ข้อตกลง
Develop พัฒนา development การพัฒนา

-ition ใช้เติมท้ายคำกริยา เพื่อให้คำนาม และส่งเสียงหนักที่พยางค์ก่อน –ition (คือลงเสียงหนักที่ “อี(i)(เสมอ)
ตัวอย่าง:-

Verb noun
Compete แข่งขัน competition การแข่งขัน
Expose แสดง,เปิดเผย exposition การแสดง
Repeat ซ้ำ repetition การกระทำซ้ำ

2) Ver-Forming Suffixes ได้แก่ “ปัจจัย (หรือ Suffix) ที่เติ่มลงไปข้างท้ายคำแล้วทำให้คำนั้นเป็นกริยา(verb) ข้ำนมา” ได้แก่ปัจจัยต่อไปนี้คือ:-

-ate -ize
-en -s,-es
-ify -ed

-ate ใช้เติมท้ายคำนาม เพื่อทำให้คำนั้นเป็นคำกริยา
ตัวอย่าง:-

Noun verb
Captive นักโทษ captivate จับตัว,ยั่วยวน
Origin ที่เกิด originate เริ่มต้น
Motive แรงกระตุ้น motivate กระตุ้น
Facility ความสะดวกสบาย facilitate ทำให้เกิดความสบาย

อนึ่ง-en ยังใช้เติมหลัง Abstract noun ที่แปลงรูปมาจากคุณศัพท์ให้ด้วย เพื่อให้คำ Abstractnoun นั้นเป็นคำกริยา เช่น;

Adjective Abstract noun verb
Long = ยาว length = ความยาว lenghten = ทำให้สูง
High = สูง height = ความสูง heighten = ทำให้ยาว




3.3) Adjective-Forming Suffixes ได่แก่ “ปัจจัยที่เติมท้ายคำใดแล้ว ทำให้คำนั้นมีรูปคุณศัพท์ (Adjective)” ได้แก่ปัจจัยต่อไปนี้:-
-able,-ible -en,-n -less
-al,-ial -er,-r,-est,-st -like
-an,-n -ese -ly
-ant,-ent -fold -most
-ary,-ory -ful -y
-ous -ing -some
-ative -ish -word
-ed -ive,-ative -ular

-ant,-ent ใช้เติมหลังกริยา เพื่อให้คำคุณศัพท์
ตัวอย่าง:-

Verb Adjective
Reside อาศัยอยู่ resident ผู้อาศัยอยู่
Ignore เพิกเฉย ignorant โง่เขลา
Differ แตกต่าง different ต่างจาก
Indulge มั่วสุมอยู่กับ indulgent ซึ่งตามใจ

-ary,-ory ใช้เติมท้ายคำนามบ้าง ท้ายคำกริยาบ้าง เพื่อให้เป็นคุณศัพท์(Adjective) เช่น;
Noun Adjective
Discipline(n) วินัย disciplinary เกี่ยวกับวินัย
Advisre(v) แนะนำ advisory เป็นคำตักเตือน
Prime แรก primary เบื่องต้น

ผู้จัดทำ





















Mrs. Prararat Piromkwan

Student ID code : 50132795054

Section G4

English for communication before taking this course

Thecourse 1500103

Suan Dusit Rajabhat University



















Mrs. Preeyanutch Srimek

Student ID code : 50132795057

Section G4

English for communication before taking this course

Thecourse 1500103

Suan Dusit Rajabhat University























Mrs. Atcharapan sukserm

Student ID code : 50132795061

Section G4

English for communication before taking this course

Thecourse 1500103

Suan Dusit Rajabhat University

Sentences

Sentences



Sentences แปลว่า “ประโยค” ได้แก่ กลุ่มคำหรือข้อความที่พูดออกไปแล้วได้ใจความสมบูรณ์ฟังกันรู้เรื่อง และส่วนมากประโยคจะประกอบได้ด้วยส่วนใหญ่ๆ 2 ส่วนคือ
1. ภาคประธาน (Subject)
2. ภาคแสดง (Predicate)
ภาคประธาน ภาคแสดง
He worked.
My sister cleaned the table.
She danced beautifully
His father has worked in America.
The bird flies in the sky.



ข้อความหรือกลุ่มคำทั้งหมดที่ยกขึ้นแสดงให้ดูนี้ถือได้ว่าเป็นประโยค (Subject) ได้ เพราะแต่ละข้อความที่พูดหรือเขียนออกไปแล้ว ผู้ฟังจะเข้าใจได้ทันที อนึ่ง ประโยคอาจมีแต่คำกริยาคำเดียวก็ได้ ถ้าสามารถเข้าใจกันดีระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยคคำสั่งก็มักจะมีแต่คำกริยาท่านั้น เช่น
Shoot. ยิงได้
Go. ไป
Come on. มานี่
Look out ระวัง เป็นต้น



Sentence (ประโยค) ในภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ

1. simple sentence ประโยคใจความเดียว
2. compound sentence ประโยคใจความรวม
3. complex sentence ประโยคใจความซ้อน
4. compound – complex sentence ประโยคใจความผสม

Simple sentence

Simple sentence


Simple sentence แปลว่า เอกัตถประโยค หมายถึง กลุ่มคำหรือข้อความที่พูดออกไปแล้วมีใจความเดียว พูดง่ายๆ ก็คือ ประธาน (subject) ตัวเดียว และกริยา (Verb) ตัวเดียว เช่น

-My son does his exercises every day.
ลูกชายของผมทำแบบฝึกหัดทุกๆวัน

-The little boy often buys some toys.
เด็กเล็กๆ คนนั้นซื้อของเล่นเป็นประจำ

-Having finished his dinner he went to read in the sitting – room.
เมื่อเสร็จจากอาหารค่ำแล้ว เขาก็ไปอ่านหนังสือในห้องรับแขก

-Working along the street, he saw a car accident.
ขณะที่กำลังเดินไปตามถนน เขาก็เห็นรถเกิดอุบัติเหตุ

-Unfortunately, she found her house burned.
โชคร้ายแท้ๆ ที่หล่อนได้พบว่าบ้านของเธอถูกไฟไหม้


Simple sentence ยังแบ่งออกเป็นประโยคย่อยู่ได้อีก 5 รูป ดังนี้

1. ประโยคบอกเล่า (Declarative sentence ) เช่น
I live chiengmai. ผมอยู่เชียงใหม่
He will be back here in few minutes. เขาจะกลับมาที่นี่ภายใน 2-3 นาทีนี้แล้ว

2. ประโยคปฎิเสธ ( negative sentence ) เช่น
I do not don live in Bangkok. ผมไม่ได้อยู่กรุงเทพ
He isn’t adle to speak French fluently. เขาไม่สามารถพูดภาษาฝรั่งเศสได้ดี

3. ประโยคคำถาม ( interrogative sentence ) เช่น
Were you born in born in Bangkok ? คุณเกิดที่กรุงเทพหรอ ?
Does he own this house ?เขาเป็นเจ้าของบ้านหลังนี้หรือ ?

4. ประโยคข้อร้อง ( imperative sentence ) เช่น
Get out of here. ออกไปจากที่นี้เสีย

5.ประโยคอุทาน (exclamatory sentence ) เช่น
There goes the bus ! รถเมล์ไปที่นั่นแล้ว
What a terrible temper he has ! เขาช่างมีอารมณ์ร้ายอะไรอย่างนี้
How cold it is! อากาศหนาวอะไรอย่างนี้

Compound sentence

Compound sentence


Compound sentence แปลว่า อเนกัตถประโยค หมายถึงที่มี simple sentence 2 ประโยคมารวมเข้าด้วยกัน ทั้งนี้โดยเชื่อด้วย co-ordinator เป็นแกนนำอันสำคัญ

ตัวอย่าง เช่น เป็น simple sentence เพราะแยกกันอยู่
He is poor he is honest.
เขายากจน เขาซื่อสัตว์
เป็น compound sentence เพราะมีตัวประสานมาเชื่อม
Hi is poor but he is honest
เขายากจนแต่เขาก็ซื่อสัตว์
ดังนั้น ตัวประสานที่มาเชื่อมเพื่อเป็น compound sentence ได้แก่
1. เครื่องหมายวรรคตอน ( punctuation )
2. วิเศษณ์เชื่อม (conjunctive adverb)
3. สันธานประสาน (co-ordinate conjunction )


การเชื่อมด้วยเครื่องหมายวรรคตอน
เครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมนำมาใช้เชื่อม Simple Sentence เพื่อให้เป็น Compound Sentence มีดังต่อไปนี้
Semi- colon (;)
Colon (:)
Dash (-)
Comma (,)

Semi- colon (;) ใช้ประโยคในกรณีที่ผู้เขียนยังรู้สึกไม่อยากขึ้นต้นประโยคใหม่ เพราะเห็นว่าใจความยังต่อเนื่องคาบเกี่ยวกันอยู่ ซึ่งก็เป็นความรู้สึกของผู้เขียนประโยคนั้นเท่านั้น ผู้เขียนคนอื่นอาจรู้สึกเป็นอย่างอื่น และอาจจะใช้ period (.) แทน semi_colon ขึ้นต้นประโยคใหม่ก็ได้

ตัวอย่าง

Daeng was sick ; he didn,t work yesterday.
= Daeng was sick. He didn work yesterday.
แดงไม่สบาย เขาไม่ทำงานเมื่อวาน

Colon (:) และ Dash (-) 2 เครื่องหมายอันนี้ใช้เชื่อมในกรณีที่เขียนเห็นว่าผลของประโยคหลังมีสาเหตุมาจากประโยคข้างหน้าโดยแท้ เช่นจากตัวอย่างข้างบนถ้าผู้เขียนเห็นว่า การที่แดงไม่ทำงานเมื่อวานนี้ก็เป็นผลโดยตรงจากการไม่สบาย ก็อาจใช้ colon หรือ dash มาเชื่อมแทนได้

ตัวอย่าง

Daeng was sick : he didn t work yesterday.
หรือ Daeng was sick - he didn t work yesterday.
= Daeng was sick ; he didn t work yesterday.
= Daeng was sick . he didn t work yesterday.


Comma(,)เครื่องหมายอันนี้นิยมใช้เชื่อมในกรณีผู้เขียนเห็นว่า เหตุการณ์ที่กล่าวถึงนั้นถ้าจะขึ้นต้นประโยคใหม่ก็จะทำให้ขาดความต่อเนื่อง ทำให้เสียภาพพจน์ของเหตุการณ์จึงจำเป็นต้องใช้ comma เชื่อมเพื่อรักษาความต่อเนื่องเอาไว้ (แทนที่จะขึ้นต้นประโยคใหม่)


การเชื่อมด้วย conjunctive abverb

Conjunctive Abverb (คำวิเศษเชื่อม) Simple Sentence เพื่อให้เป็น Compound Sentence นั้นแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1. ชนิดคำที่มีลักษณะเป็นการเติมเข้ามาเพื่อเน้นให้ผู้อ่านผู้ฟังได้ฉุกคิด หรือเน้นให้เห็นข้อสังเกตได้ชัดขึ้น ได้แก่คำในทำนองต่อไปนี้คือ

However อย่างไรก็ตาม moreover ยิ่งกว่านั้น
Furthermore ยิ่งกว่านั้น consequently ดังนั้น
Nevertheless อย่างไรก็ดี accordingly เพราะฉะนั้น
Meanwhile ระหว่างนี้ therefore ดังนั้น

ตัวอย่าง

- john was sick ; he did go to school.
จอห์นไม่สบาย แม้กระนั้นเขาก็ยังไปโรงเรียนได้

-Amnat had a bad cold ; therefore , he didn t work.
อำนาจเป็นไข้หวัด ดังนั้นเขาจึงไม่ทำงาน

-She was tired and thisrsty ; moreover , she wariness cold.
หล่อนเหนื่อยและกระหายน้ำ ยิ่งกว่านั้นก็ยังหนาวอีกด้วย

-I don know this ; nevertheless, I don trust him.
ผมไม่รู้จักชายนี้ ยิ่งกว่านั้นผมก็ไม่ไว้วางใจเขาอีก

-My friend has stayed with me at home for a long time ; meanwhile,I take him to see Wat Po.
เพื่อนของผมได้มาพักอยู่กับผมที่บ้นเป็นเวลานาน ระหว่างนี้ผมได้พาเขาไปชมวัดโพธิ์


2.ชนิดที่มีความหมายเป็น Transitional word (คำที่มีความหมายเปลี่ยนแปลงจากสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง) ซึ่งมีความหมายอ่อนลงมามาก จนอาจใช้เสมือนเป็น Adverd ธรรมดา หรือเหมือนคำ Conjunctive ธรรมดา ได้แก่คำในทำนองต่อไปนี้ คือ
Otherwise มิฉะนั้น thus ดังนั้น
Still ยังคง hence ดังนั้น
Yet ยัง เช่น :-
(คำจำพวกนี้ใช้ comma คั่นข้างหน้า ข้างหลังไม่ต้องมีอะไร)

ตัวอย่าง

-Do what you are told , otherwise you de punished.
จงทำอย่างที่เขาบอกให้ทำ มิฉะนั้นคุณจะถูกทำโทษ

-There is no rain in the country hence the crops are likely to die.
ไม่มีฝนเลยในประเทศนี้ ดังนั้นพืชพันธ์จึงจวนจะตาย

-David was sick thus he went to see a doctor.
เดวิดไม่สบาย ดังนั้นเขาจึงไปหาหมอ

-He worked very still he didn’t complain.
เขาทำงานหนักมาก แต่เขาก็ไม่บ่น

อนึ่ง conjunctive adverb ที่กล่าวมานี้ จะใช้เชื่อมควบคู่กับสันธาร co-ordinate conjunction ตัวอื่นก็ได้
ตัวอย่าง

-Do what you ard told or otherwise you be punished.
จงทำอย่างที่ขาให้ทำ หรือมิฉะนั้นแล้วคุณจะถูกทำโทษ
(otherwise ใช้เชื่อมควบคู่กับ oR)

-David was sick and thus he went to see a doctor.
เดวิดไม่สบาย ดังนั้นเขาจึงไปหาหมอ
(thus ใช้เชื่อมควบคู่กับ and)


การเชื่อมด้วย co-ordinate conjunction

co-ordinate conjunction (สันธานประสาน) ที่นำมาใช้เชื่อมประโยค simple sentence เพื่อให้ เป็นcompound sentence (ประโยครวม)นั้นแบ่งออกเป็น4 ชนิด หรือ 4 แบบ คือ
1.แบบรวม ( Cumulative ) ได้แก่ and และคำเทียบเท่า
2. แบบเลือก ( disjunctive )ได้แก่ or และคำเทียบเท่า
3.แบบแยก (adversative ) ได้แก่ but และคำเทียบเท่า
4.แบบเหตุผล (Illative) ได้แก่ so และคำเทียบเท่า


1.1 แบบรวมได้แก่ and และคำที่มีความหมายคล้าย and (the cumulative and - type)ที่นำมาใช้เชื่อมเพื่อให้เป็น compound sentence ได้แก่คำต่อไปนี้คือ
And และ
And……too และ….อีกด้วย
And…..also และ…..อีกด้วย
And also และอีกด้วย
As well as และก็, พอๆ กันกับ
And…..as well และ……อีกด้วย
Both….and ทั้ง…….และ
Not only….but also ไม่เพียง…...เท่านั้น แต่…..อีกด้วย
เช่น :- mary is tired and hungry.
แมรี่เหนื่อยและหิว
mary is tired and hungry too.
แมรี่เหนื่อยและหิวอีกด้วย
mary is tired and hungry also.
แมรี่เหนื่อยและก็หิวอีกด้วย
mary is tired and also hungry.
แมรี่เหนื่อยและก็หิวอีกด้วย
mary is tired as well as hungry.
แมรี่เหนื่อยพอๆ กันกับหิว
mary is tired and hungry as well.
แมรี่เหนื่อยและก็หิวอีกด้วย
mary is not only tired but also hungry.
แมรี่ไม่เพียงแต่เหนื่อยเท่านั้น แต่ยังหิวอีกด้วย


1.2 แบบเลือกได้แก่ or และคำที่มีความหมายคล้าย or
(the disjunctive or-type )ที่นำมาใช้เชื่อมเพื่อให้เป็น compound sentence ได้แก่คำ

Or หรือ , มิฉะนั้นแล้ว
Or else หรือมิฉะนั้น
Either….or (อันนี้) หรือ (อันนั้น)
Neither…nor ไม่ (ทั้งอันนี้) และ (อันนั้น)

ตัวอย่าง

-He must go now or will miss the plane.
เขาจะต้องไปเดี๋ยวนี้ มิฉะนั้นแล้วเขาจะไม่ทันเครื่องบิน

-He must do this or else hell punished.
เขาจะต้องทำสิ่งนี้ หรือ มิฉะนั้นแล้วเขาจะถูกทำโทษ

-Either you or he has to do this.
คุณหรือเขาก็ได้ต้องทำสิ่งนี้

-Neither your friends have to go to school on Sunday.
ทั้งคุณและเพื่อนของคุณไม่ต้องไป ร.ร วันอาทิตย์


3.3 แบบแยกได้แก่ but และคำที่มีความหมายคล้าย but (the adversative but-type)ที่นำมาใช้เชื่อมเพื่อให้เป็น compound sentence นั้นได้แก่คำต่อไปนี้คือ
But แต่
While แต่,ส่วน
Whereas แต่, ด้วยเหตุนี้
Yet ยัง,ถึงอย่างนั้น
Still ยัง, ถึงอย่างนั้น

ตัวอย่าง

- Sombat didn’t work hard but he passed his examination.
สมบัติมิได้เรียน (ทำ) อย่างขะมักเขม้นเท่าไร แต่เขาก็สอบผ่าน

-She is very beautiful while all her sisters are ugly.
หล่อนเป็นคนสวยมาก ในขณะที่น้องสาวทุกคนของหล่อนมีแต่คนขี้เหล่

-Wise men love truth whereas fools shun it.
คนฉลาดรักแต่ความจริง ส่วนคนโง่ชอบหลีกเลี่ยง

-Robert worked well yet he failed.
โรเบิร์ตทำงานดี ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังต้องประสบความล้มเหลว

-The pain was bad still he did not complain.
ความเจ็บปวดนั้นแย่มาก (เจ็บมาก)ถึงกระนั้นเขาก็ไม่บ่น

อนึ่งในกลุ่มหรือแบบ But – type จะนำเอา Conjuntive Adverd (บางตัว)มาใช้ร่วมด้วยก็ได้ ได้แก่คำต่อไปนี้

However = อย่างไรก็ตาม แม้กระนั้น

ตัวอย่าง

-The sun is shinning however I’m sure it rain .

พระอาทิตย์กำลังส่องแสง แม้กระนั้นผมก็ยังแน่ใจว่าฝนฝนยังจะตกอยู่ดี
Nevertheless = อย่างไรก็ตาม แม้กระนั้น

ตัวอย่าง

-There was no news nevertheless she went no hoping
ไม่มีข่าวเลย แม้กระนั้นหล่อนก็ยังหวังต่อไป (ว่าจะมี)


On the other hand = แต่ แม้กระนั้น นิยมใช้กับข้อความที่ขัดแย้งหรือตรงกันข้าม เช่น
>>This shirt is cheap on the other hand its quality is poor
เสื้อตัวนี้ถึงถูกก็จริง แต่คุณภาพของมันสิแย่

For all that = ถึงอย่างนั้น ทั้งๆ อย่างนั้น เช่น
>>Sak says he right for all that tm sure he wrong
ศักดิ์พูดว่าเขาถูกก็จริง แต่ถึงอย่างนั้นผมก็ยังคิดว่าเขาผิดอยู่นั่นแหละ


1.4 แบบเชื่อมความซึ่งเป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกัน ได้แก่ so และคำที่มีความหมายคล้าย so the Illative so- type ได้แก่คำต่อไปนี้คือ
So ดังนั้น
For เพราะ, เพราะเหตุว่า
Therefore ดังนั้น
Consequently ดังนั้น
Accordingly เพราะฉะนั้น

ตัวอย่าง

-So : it s time to go so let start our journey.
ถึงเวลาไปแล้ว ดังนั้นเราก็เริ่มออกเดินทางได้แล้ว

-For : I went in for the door was open.
ผมเข้าไปข้างใน เพราะประตูเปิดไว้

-Therefore : he was found guilty ; Therefore he was imprisoned.
ได้พบแล้วว่าเขามีความผิด ดังนั้นเขาจึงถูกจำคุก

-Consequently : chat was sick ; Consequently , he didn’t go to school.
ชาติไม่สบาย เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่ไปโรงเรียน

Complex sentence

Complex sentence


Complex sentence แปลว่าสังกรประโยค หรือ ประโยคที่มีเนื้อหาซ้อน หมายถึงประโยคใหญ่ที่สุดที่ประกอบขึ้นมาจากประโยคเล็ก 2ประโยค ซึ่งใน2ประโยคนี้มีความสำคัญไม่เท่ากันนั่นคือประโยคหนึ่งเรียกว่า main clause หรือ principal (ประโยคหลัง)ส่วนอีกประโยคหนึ่งเรียกว่า subordinate clause (ประโยคอาศัย) เป็นประโยคที่ต้องอาศัยประโยค main clause เสียก่อนแล้วจึงได้เนื้อหาสมบูรณ์ ซึ่งก็แน่ละหากแยกกันอ่านที่ละประโยค ประโยค main clause จะอ่านได้เนื้อความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง ส่วนประโยค subordinate clause จะอ่านไม่ได้ความหมายเลย

ตัวอย่าง

-This is the house that jack bought last year.
นี้คือบ้านขอแจ๊คได้ซื้อเอาไว้เมื่อปีที่แล้ว

ข้อความนี้แยกออกได้เป็น2ประโยคคือ this is the house เป็นประโยค main clause ส่วน that jack bought last year เป็น subordinate clause จะเห็นได้ว่าเมื่อประโยคเล็ก2ประโยคมารวมอยู่ด้วยกัน จึงทำให้ประโยคที่กล่าวมานี้กลายเป็น Complex sentence ขึ้นมาทันที โดยใช้คำ main clause กับ subordinate conjunction เป็นตัวเชื่อมระหว่างประโยค คือ


1.ใช้คำเชื่อมหรือคำเชื่อมแฝง (subordinate conjunction) ได้แก่

If as if since because that
Whether lest as before after
White till until though although
Unless so that than provided in order that
Provided that notwithstanding that etc เช่น

-He is unhappy because he is very poor.
เขาไม่มีความสุข เพราะเขายากจนมาก

-She said that she would come back soon.
หล่อนพูดว่า หล่อนจะกลับมาเร็วๆนี้

-Danai works as if he were a manchine.
ดนัยทำงานราวกับว่าเขาเป็นเครื่องจักร

-Wait here until I come back.
รออยู่ที่นี้จนกว่าผมจะกลับมา

2.ใช้ประพันธ์สรรพนาม (relative pronoun) เป็นคำเชื่อมได้ ได้แก่คำต่อไปนี้คือ
Who whom whose which that
As but what of which where

ตัวอย่าง

-He is the first man who has won this kind of prize.
เขาเป็นผู้ชายคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้

-She made the same mistakes as her sister did.
หล่อนได้ทำผิดอย่างเดียวกันกับที่น้องสาวของเธอทำ

-The man who came here this morning is my uncle.
ผู้ชายที่มาที่นี่เมื่อเช้านี้เป็นลุงของผม

-There was no one but admired him
ไม่มีผู้ใดที่จะไม่ยกย่องเขา

-The tree of which the leaves are yellow is dying
ต้นไม่ที่มีใบเหลือง (แสดงว่า) กำลังจะตาย

(ประโยคข้างบนนี้ถือว่าเป็น complex sentence เพราะมี who but of which ไปเชื่อม)


3.ใช้สัมพันธ์วิเศษ (relative adverd) เป็นคำเชื่อมได้ แก่คำต่อไปนี้คือ:-
When whenever where why wherever how
ตัวอย่าง

- I don know when she arrives here.
ผลไม่ทราบว่า เมื่อไหร่หล่อนจะมาถึงที่นี้

-He will go wherever she lives.
เขาจะไปที่ไหนก็ได้ที่หล่อนอยู่

-Do you know how she did it
คุณทราบไหมว่าหล่อนทำได้อย่างไร

-I don understand why you have done that.
ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมคุณจึงได้ทำอย่างนั้น